บรรยากาศในพิพิธภัณฑ์
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ดำเนินงานโดยกรมทรัพยากรธรณี เป็น 1 ใน 12 โครงการ ตามแผนการจัดตั้งสถาบันศิลปวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสถานที่อนุรักษ์ แหล่งข้อมูลอ้างอิง และตัวอย่างที่สำคัญทางธรณีวิทยา สำหรับประชาชนชาวไทยในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องของธรณีวิทยา อันมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และการพัฒนาประเทศ
กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ 4 ชั้นครึ่ง เนื้อที่ใช้สอยประมาณ 14,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่ 5 ไร่ โดยอาคารพิพิธภัณฑ์ได้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2543 และจัดให้มีพิธีเปิดทดลองระบบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2554 และเปิดให้บริการมาอย่างต่อเนื่อง
ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการ ดังนี้
ส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้น 1
1. นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ประวัติกรมทรัพยากรธรณี
2. ห้องนิทรรศการถาวร 1 ธรณีวิทยาทั่วไป
- ธรณีวิทยา คือ อะไร , กำเนิดโลก , ส่วนประกอบโลก , หินต่างๆ , วัฎจักรของหินส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้น 2 ห้องนิทรรศการ 2 ธรณีวิทยาประเทศไทย
- Precambrianส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้น 3
1. ห้องนิทรรศการ 3 ทรัพยากรธรณี
- กำเนิดแร่ , การตรวจวิจัยแร่ , คุณสมบัติทางกายภาพ , คุณสมบัติทางเคมี , คุณสมบัติทางแสงของแร่ , การจำแนกชนิดของแร่ , การทำเหมืองแร่และสิ่งแวดล้อม , การใช้ประโยชน์แร่2. ห้องนิทรรศการ 5 ธรณีวิทยาประยุกต์
- การใช้ประโยชน์ข้อมูลและความรู้ธรณีวิทยา เขื่อน ถนน การก่อสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น ทำเรือ สนามบิน แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์ การเลือกพื้นที่ฝังกลบขยะส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้น 4 ห้องนิทรรศการ 4 ธรณีวิทยาประยุกต์
- เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำบาดาล
นิทรรศการชั่วคราว
จัดแสดงนิทรรศการที่น่าสนใจตามระยะเวลาที่กำหนด หมุนเวียนไปตามหัวข้อที่กำหนด
ที่อยู่
55 หมู่ 5 ถนนเลียบคลองห้า คลองห้า คลองหลวง ปทุมธานี 12120
วันและเวลาทำการ
วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น.
(หยุดวันจันทร์)
ค่าเข้าชม
คนไทย
- เด็ก 10 บาทคนต่างชาติ
- เด็ก 50 บาท***เฉพาะคนไทย*เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี/ผู้สูงอายุ 60 ปี/นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบหรือแสดงบัตรนักเรียนนักศึกษา/คนพิการ/พระภิกษุสามเณรนักบวช/ทหารผ่านศึก/ผู้ด้อยโอกาส เข้าชมฟรี*