หน้ารวมพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมภูเก็ต

บรรยากาศในพิพิธภัณฑ์

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

มิวเซียมภูเก็ต ในการบริหารของมิวเซียมสยามและเทศบาลนครภูเก็ตดำเนินการจัดสร้าง

ภูเก็ตนครา•เพอรานากันนิทัศน์  (PHUKETNAGARA•PERANAKANNITAT)  พื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้สำหรับคนภูเก็ตและนักท่องเที่ยว ผ่านสื่อเทคโนโลยีและกิจกรรมสร้างสรรค์

 

ภูเก็ตนครา (PHUKETNAGARA) เล่าเรื่องการกำเนิดของนครภูเก็ต ผ่านพัฒนาการเมือง 4 ยุค ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว ซึ่งมี "ดีบุก" เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเมือง มีผู้คนต่างถิ่น ต่างภาษา ต่างมุ่งหน้ามาขุด "ความมั่งคั้ง"กันอย่างไม่ขาดสาย โดยมีชุดการเรียนรู้ให้เล่นเน้นเรียนรู้เรื่องราวต่างๆเป็นไปด้วยความสนุกสนาน 

 

เพอรานากันนิทัศน์ (PERANAKANNITAT) เล่าเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวเพอรานากัน ใครคือชาวเพอรานากัน ชาวเพอรานากันมาจากไหน 

 

 

ภูเก็ตนครา (PHUKETNAGARA) นำเสนอเนื้อหาเป็น 8 โซน ได้แก่

 

โซน 1 ภูเก็ตนครา ชมภาพเก่าเล่าเรื่องเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว) ของนครภูเก็ต ในอดีต ซึ่งหาชมได้ยาก

 

โซน 2 สถาปนานคร ข้อความสาคัญ พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหลักฐานสาคัญในการย้ายศูนย์กลางการปกครองของภูเก็ต

 

โซน 3 ตำนานนคร  เลียงขนาดยักษ์ เล่าเรื่องราวการเกิดเมืองและเหตุของการย้ายเมือง

 

โซน 4 ย้ายนคร เส้นลวดดัดเล่าเรื่องราวการย้ายนครสมัยธนบุรี สมัยรัชกาลท่ี 3 สมัยรัชกาลที่ 4 จนมาอยู่บ้านทุ่งคา “นครภูเก็ต” ในปัจจุบัน

 

โซน 5 นครบนเหมือง การปรับปรุงบ้านเมืองครั้งสาคัญด้วยการดาเนินงานของ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

 

โซน 6 นครรุ่งเรือง ชวนค้นหาคาตอบว่าทาไม “ดีบุก” จึงเป็นท่ีต้องการของโลกในขณะน้ัน และผลจากการค้นพบ “ดีบุก” ใต้ผืนดินได้นามาซึ่งวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อาหาร และสิ่งต่างๆมากมาย จากกลุ่มคนที่หลากหลาย

 

โซน 7 อวสานดีบุก การสิ้นสุดและเริ่มต้นบทบาทใหม่ของนครภูเก็ต

 

โซน 8 มิวเซียมรีวิว เรื่องลับๆ  และอาจจะไม่ลับ ที่น่าสนใจบนพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ถูกแนะนำโดยทีมงานมิวเซียมภูเก็ต

 

นิทรรศการภาพจำสงครามโลก The Children Recall WW2 in Phuket

 

นำเสนอจุดเปลี่ยนสำคัญของนครภูเก็ตซึ่งขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจดีบุกในอดีต และได้รับผลกระทบจากสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช่วงปีพ.ศ. 2484–2488) ทำให้เหมืองแร่ต้องปิดเป็นเวลานาน เมืองทั้งเมืองเต็มไปด้วยชาวเหมืองที่ตกงาน เมืองทั้งเมืองตกอยู่ในสภาพขาดแคลนทั้ง ข้าวสาร เกลือ น้ำมัน เสื้อผ้าและอื่นๆ ต้องอดทนนานถึง 4 ปี แล้วชาวเมืองภูเก็ตได้ฝ่าวิกฤตสงครามโลกครั้งนั้นมาได้อย่างไร ?

ซึ่งบันทึกแห่งความยากลำบากในเวลานั้นมีน้อยมาก แต่ยังพอมีเรื่องราวของ “บุคคล” และ “ภาพจำ” เหลืออยู่ “ภาพจำ” เมืองภูเก็ตท่ามกลางสงครามเหล่านี้ เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความคิดสร้างสรรค์แห่งการอยู่รอด ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาแบบเด็กๆ เมืองภูเก็ตเมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการฝ่าวิกฤตสงครามโลกให้เป็นแนวคิดแก่คนรุ่นปัจจุบัน ผ่าน 7 โซน ดังนี้

  

โซน 1 เมืองภูเก็ต ในวิกฤตสงครามโลก : ผลกระทบที่เกิดกับเมืองภูเก็ตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (2457 – 2461) และสงครามโลกครั้งที่ 2 (2482 – 2488)

 

โซน 2 WW2 Background : ต้นเหตุ เหตุการณ์สำคัญ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับไทยและภูเก็ต ใครคือฝ่ายอักษะ ใครคือฝ่ายสัมพันธมิตร

 

โซน 3 หลุมหลบภัย : การวางกำลังพล การเตรียมความพร้อมของอาวุธ ยุทโธปกรณ์ เรียนรู้ผ่านเกม “ญี่ปุ่นบุกไทย” ฝ่ายหนึ่งบุก (ญี่ปุ่น) ฝ่ายหนึ่งรับ (ไทย)

 

โซน 4 ห้องยิงเรือ : ภูเก็ตขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค เพราะมีเรือดำน้ำไม่ทราบฝ่ายคอยดักทำลายเรือสินค้าที่มาภูเก็ต เรียนรู้ผ่านเกมภารกิจพาข้าวของมาส่งชาวภูเก็ตกำจัดเรือดำน้ำ   เพื่อช่วยเหลือเรือสินค้า 

 

โซน 5 เมืองภูเก็ตกับสงครามโลกครั้งที่ 2 : สถานการณ์สำคัญในช่วงสงครามของกิจการเหมืองดีบุก นายเหมือง “ฝรั่ง” ไทยร่วมสงคราม เศรษฐกิจเมืองภูเก็ตหยุดชะงัก ข้าวยากหมากแพง

 

โซน 6 คำให้การ “ภาพจำ” สงครามโลก : เรื่องราวของ “บุคคล” และ “ภาพจำ” เมืองภูเก็ตท่ามกลางสงคราม ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความคิดสร้างสรรค์แห่งการอยู่รอด ถูกถ่ายทอดผ่านสายตาแบบเด็กๆ

 

โซน 7 เศรษฐกิจสงครามโลก : สถานการณ์เมืองภูเก็ตและไทยในวิกฤตเศรษฐกิจสงครามโลก

 

โซน 8 เหรียญดีบุกในวิกฤตเศรษฐกิจสงครามโลก และธนาคารชาร์เตอร์ในวิกฤตสงครามโลก

 

เพอรานากันนิทัศน์ มีห้องจัดแสดงเป็น 6 ห้อง

 

ห้องจัดแสดงที่ 1 พลัดพราก

นำเสนอเรื่องราวกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีนเข้ามาสู่ไทย รับจ้างเป็นกุลีและก้าวขึ้นมาเป็นนายเหมืองที่มั่งคั่ง และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

 

ห้องจัดแสดงที่ 2 รากใหม่

ที่มาของ เพอรานากัน หรือ ภูเก็ตบางส่วนเรียกว่า “บาบ๋า” สถาปัตยกรรมชิโน – โปรตุกีส หรือ สถาปัตยกรรมแบบโคโรเนียนสไตล์ ที่พบกระจายทั่วไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ต

 

ห้องจัดแสดงที่ 3 ฉิมแจ้

ลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาคารสถาปัตยกรรมชิโน – โปรตุกีส การเจาะช่องอากาศกลางตัวบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าได้ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก

 

ห้องจัดแสดงที่ 4 ผ้า

เอกลักษณ์การแต่งกายกลุ่มลูกครึ่งมลายู –จีน ผสมผสานและสร้างสรรค์วัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นโดยชื่อว่า “เปอรานากัน” ที่มีความหมายว่า “เกิดที่นี่”

 

ห้องจัดแสดงที่ 5 อาหาร

อาหาของชาวเพอรานากันในภูเก็ต เป็นอาหารที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวจีนอกเกี้ยน มลายู และไทยถิ่นใต้ มีการใช้เครื่องเทศแบบท้องถิ่นใต้ ผสมกับเครื่องปรุงรสของอาหารจีนร่วมสมัย จึงทำให้มีรสชาติออกหวานแบบจีนแต่มีรสจัดของเครื่องเทศและคามเผ็ดเหมือนอาหารไทยมลายู

 

ห้องจัดแสดงที่ 6 มั่นคง

เครื่องประดับของชาวเพอรานากัน เป็นสิ่งแสดงถึงฐานะ จะใช้ในงานสำคัญ เช่น งานแต่งงาน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น เครื่องประดับแต่ละชิ้นจะจับเป็นชุดใช้เฉพาะกับเสื้อผ้าแต่ละชนิด

 

นิทรรศการ “ตรุษจีนภูเก็ต วิถี ตำนาน การเซ่นไหว้”

 

ตรุษจีนภูเก็ตทำอะไร ? สีแดง แสงไฟ เสียงดัง เกี่ยวอะไรกับ ตรุษจีน? ของไหว้มีความมงคลอย่างไร? และเรื่องราวที่น่าสนใจในเทศกาลตรุษจีนภูเก็ต

 

นิทรรศการภาพถ่าย “เพลิน@แหล่งเรียนรู้ภูเก็ต”

ที่อยู่

อาคารธนาคารชาร์เตอร์(เดิม) ถนนพังงา ตลาดใหญ่ เมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83000

วันและเวลาทำการ

เปิดบริการ วันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.30 น. 

ค่าเข้าชม

เข้าชมฟรี

แผนที่